สารทึบรังสี หรือ Contrast media
เป็นสารเคมีที่เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายสามารถเพิ่มความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีดำ (conrtast) ในการถ่ายภาพอวัยวะภายในด้วยเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีความชัดเจนมากขึ้น และสามารถบอกตำแหน่งของแผล การอุดตัน หรือบอกโครงสร้างที่ผิดปกติของอวัยวะภายในชนิดนั้น ๆ ได้ดีขึ้น สารทึบรังสีนี้สามารถใช้กับร่างกายหลาย ๆ ส่วนด้วยกัน เช่น สมอง หัวใจ กระดูกสันหลัง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบหลอดเลือด เช่น ใช้ในการตรวจแยกภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน ตรวจหาเนื้องอกในสมอง ตรวจหาการตีบตันของเส้นเลือดต่าง ๆ ดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากน้อยเพียงใด ดูระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อหาการอุดตัน ดูการกดทับเส้นประสาทของกระดูกไขสันหลัง
Saturday, June 5, 2010
การตรวจพิเศษทางรังสี
1. การตรวจหลอดอาหาร (Ba Swallow/ Esophagogram) เป็นการตรวจทางรังสีของหลอดอาหาร โดยการดื่มสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหาร จะทำการเอกซเรย์ตั้งแต่ช่วงคอจนถึงช่วงท้องส่วนบน การเตรียมตัวก่อนการตรวจหลอดอาหาร (Ba Swallow) ให้งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ)
MRI(Magnetic Resonance Imaging)
MRI คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ
อุลตราซาวด์(Ultrasoud)
การตรวจด้วยอุลตราซาวด์ เป็นที่ยอมรับ ของแพทย์ทุกสาขา เครื่องอุลตราซาวด์ มีใช้กันแพร่หลาย เกือบทุกโรงพยาบาล หลายโรงพยาบาล มีมากกว่า 1 เครื่อง ทั้งนี้ เพราะราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกับ เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เครื่อง MRI และ เครื่องอุลตราซาวด์ ยังมีให้เลือก ตั้งแต่เครื่องเล็ก ซึ่ง สามารถหิ้วไปตามตึกผู้ป่วยได้ (Mobile) จนถึง เครื่องใหญ่ที่มีเทคนิคพิเศษเพิ่มเติม เพื่อการใช้งาน ได้หลายแบบ และ มีหน่วยความจำมากขึ้น ซึ่งราคา ก็จะต่างกันไปด้วย ตั้งแต่ 3 แสนบาท จนถึง หลายล้านบาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(Computed Tomography)
ประวัติ: Dr Godfrey Hounsfeile แห่งหน่วยวิจัยบริษัท B.M.I. ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มต้นประดิษฐ์ Computerized Tomography ในปี 1967 ประสบความสำเร็จในปี 1972 CT เครื่องแรกได้นำมาใช้กับ โรงพยาบาล Athinson Morley 's ณ กรุงลอนดอน C.T. เครื่องแรกนี้ ใช้ได้เฉพาะตรวจสมองในงาน Neuroradiology เท่านั้น และได้เรียกตามชื่อผู้ผลิตว่า E.M.I. scanner ต่อมา Dr.Robert s Ledley ได้เป็นคนแรกที่ทำ Whole body CT ได้ สำเร็จเป็นเครื่องแรก และได้นำไปติดตั้งที่ Georye Town University Medical Center U.S.A. ในเดือน กุมภาพันธ์ 1974
แมมโมแกรม(Mammogram)
แมมโมแกรม เป็นการตรวจทางรังสีของเต้านม โดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดา เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเต้านม หาตำแหน่งของเนื้องอก และความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) โดยใช้ปริมาณรังสีที่น้อย แต่สามารถทำให้เห็นรายละเอียดภายในเนื้อเต้านมได้หมด และสามารถตรวจหามะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรกได้ค่อนข้างแม่นยำ
เครื่องไซโคลตรอน (Cyclotron)
เครื่องไซโคลตรอน (Cyclotron) เป็นเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับผลิตสารกำเนิดรังสีโพสิตรอน คาร์บอน-11 ไนโตรเจน-13 ออกซิเจน-15 ฟลูออรีน-18 ซึ่งเป็นธาตุพื้นฐานของเซลล์ร่างกาย รวมทั้งเซลล์แปลกปลอม เช่น เซลล์มะเร็ง ที่ต้องใช้ในขบวนการเมตาบอลิสม์ต่างๆ
สารเภสัชรังสี(Radiophamaceutical)
สารเภสัชรังสี มาจากสารเภสัช + สารกัมมันตรังสี หมายถึงสารประกอบกัมมันตรังสีซึ่งนำมาใช้ในการวินิจฉัยหรือรักษาโรคโดยที่ไม่มีผลทางสรีระที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
สารกัมมันตรังสีต่างจากสารเภสัชรังสีที่สารเภสัชรังสีมีโครงสร้างทางเคมี เช่น 131I เป็นสารกัมมันตรังสีและไม่ทราบโครงสร้างทางเคมีแต่ 123I NaI เป็นสารเภสัชรังสีที่ทราบการกระจายทางชีวภาพและการถูกขจัดออกจากร่างกาย
สารกัมมันตรังสีต่างจากสารเภสัชรังสีที่สารเภสัชรังสีมีโครงสร้างทางเคมี เช่น 131I เป็นสารกัมมันตรังสีและไม่ทราบโครงสร้างทางเคมีแต่ 123I NaI เป็นสารเภสัชรังสีที่ทราบการกระจายทางชีวภาพและการถูกขจัดออกจากร่างกาย
รังสีแกมมา
รังสีแกมมา (อังกฤษ: gamma ray) คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-ray) ที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10-13 ถึง 10-7 หรือก็คือคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-13 นั่นเอง การที่ความยาวคลื่นสั้นนั้น ย่อมหมายถึงความถี่ที่สูง และพลังงานที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นรังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด
พอล วิลลาร์ด (Paul Villard) นักฟิสิกส์ฝรั่งเศส พลอ วิลลาร์ด ค้นพบรังสีแกมมาจากการศึกษากัมมันตภาพรังสีที่ออกมาจากยูเรเนียม ซึ่งถูกค้นพบมาก่อนแล้วว่าบางส่วนจะเบนไปทางหนึ่ง เมื่อผ่านสนามแม่เหล็กบางส่วนจะเบนไปอีกทางหนึ่ง กัมมันตภาพรังสีทั้งสองประเภทนี้ คือ รังสีแอลฟา และรังสีบีตา
พอล วิลลาร์ด (Paul Villard) นักฟิสิกส์ฝรั่งเศส พลอ วิลลาร์ด ค้นพบรังสีแกมมาจากการศึกษากัมมันตภาพรังสีที่ออกมาจากยูเรเนียม ซึ่งถูกค้นพบมาก่อนแล้วว่าบางส่วนจะเบนไปทางหนึ่ง เมื่อผ่านสนามแม่เหล็กบางส่วนจะเบนไปอีกทางหนึ่ง กัมมันตภาพรังสีทั้งสองประเภทนี้ คือ รังสีแอลฟา และรังสีบีตา
รังสีเอกซ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
รังสีเอกซ์มิได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เป็นรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น โดย ใช้ปรากฏการณ์อันหนึ่งที่ภาษาเยอรมันเรียกว่า เบรมม์ชตราห์ลุง (bremmstrahlung) ซึ่งแปลว่า สกัดกั้น หรือทำให้ช้าลงหรือทำให้หยุด (breakingradiation)
เพราะรังสีเอกซ์ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากการที่อิเล็ก ตรอน ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมวลและมีน้ำหนัก (อิเล็กตรอน 1 ตัวมีมวล 9.11 x 10 ('-28) กรัม) วิ่งไปกระทบกับโลหะทังสเตน และถูกทังสเตนสกัดกั้นไว้ จนวิ่งช้าลงหรือจนหยุด ทำให้อิเล็กตรอนคายพลังงานจลน์ (kineticenergy) ของมันออกมา
เพราะรังสีเอกซ์ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากการที่อิเล็ก ตรอน ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมวลและมีน้ำหนัก (อิเล็กตรอน 1 ตัวมีมวล 9.11 x 10 ('-28) กรัม) วิ่งไปกระทบกับโลหะทังสเตน และถูกทังสเตนสกัดกั้นไว้ จนวิ่งช้าลงหรือจนหยุด ทำให้อิเล็กตรอนคายพลังงานจลน์ (kineticenergy) ของมันออกมา
การป้องกันอันตรายจากรังสี
การป้องกันอันตรายจากรังสีจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารองค์กรความปลอดภัย (Safety organiza tion) ให้มีประสิทธิภาพสูง และประกอบกับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีในหน่วยงานนั้น ตลอดจนผู้บังคับบัญชาที่รับ ผิดชอบ จะต้องร่วมมือกัน ให้การ สนับสนุน และให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนติดตามการจัดการในทุกระดับชั้น อย่างระมัดระวัง โดยอาศัยมาตรการต่างๆดังต่อไปนี้
กัมมันตภาพรังสี...คืออะไร?
กัมมันตภาพรังสี(Radioactivity)เป็นคุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุ หรือ ไอโซโทปอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการปลดปล่อย หรือ ส่งรังสีออกมาด้วย ปรากฏการณ์นี้ได้พบครั้งแรกโดย เมื่อปี พ.ศ. 2439 ต่อมาได้มีการพิสูจน์ทราบว่า รังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลายตัวของธาตุ หรือไอโซโทป รังสีนั้น ประกอบด้วย
รังสีแอลฟา
รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีมวล 4 amu มีประจุ +2 อนุภาค ชนิดนี้จะถูกกั้นไว้ด้วย แผ่น กระดาษหรือเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของคนเราเท่านั้น
การสลายตัวให้รังสีแอลฟา
90Th 232----->88Ra 228 + 2a 4
รังสีบีตา
รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคอิเลคตรอน หรือ โพสิตรอน รังสีนี้มีคุณสมบัติทะลุทะลวงตัวกลางได้ดีกว่ารังสี แอลฟา สามารถ ทะลุผ่านน้ำที่ลึกประมาณ 1 นิ้วหรือประมาณความหนาของผิวเนื้อที่ฝ่ามือได้ รังสีเบต้าจะถูกกั้นได้โดยใช้แผ่นอะลูมิเนียม ชนิดบาง
การสลายตัวให้รังสีบีตา
79Au 198----->80Hg 198 + -1b 0
7N 13----->6C 13 + +1b 0
รังสีแกมมา
รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ที่สามารถทะลุผ่านร่างกายได้ การกำบังรังสี แกมมาต้อง ใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือ ยูเรเนียม เป็นต้น
การสลายตัวให้รังสีแกมมา
27Co 60----->-1b 0 + 28Ni 60----->28Ni60 + g
การใช้ประโยชน์จากรังสี
ปัจจุบัน ได้มีการนำรังสี และ สารกัมมันตรังสี มาใช้งานต่างๆ กัน เช่น ในทางการแพทย์ มีการใช้ ในการตรวจวินิจฉัย และ บำบัด อาการโรคของผู้เจ็บป่วยจากโรคร้ายต่างๆ เช่น การฉายรังสีเอกซ์ การตรวจสมอง การตรวจกระดูก และ การบำ บัดโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการใช้งานทางรังสี ในกิจการอุตสาหกรรม การเกษตร และ การศึกษาวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การใช้รังสีตรวจสอบรอยเชื่อม รอยร้าว ในชิ้นส่วน โลหะต่างๆ การใช้ป้ายเรืองแสงในที่มืด การตรวจ อายุวัตถุโบราณ การถนอมอาหารด้วยรังสี และการฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือแพทย์
อันตรายจากรังสี
แม้รังสีจะมีอยู่ล้อมรอบตัวเรา และมนุษย์ทุกคนก็สามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้ แต่รังสีก็นับได้ว่ามีความเป็นพิษภัย ในตัวเองเช่นกัน รังสีมีความสามารถก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์สิ่งมีชีวิต และถ้าได้รับรังสีสูงมากอาจทำให้มีอาการ ป่วยทางรังสีได้ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันตัวเองและสาธารณชน ไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสีเลย
รังสีแอลฟา
รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีมวล 4 amu มีประจุ +2 อนุภาค ชนิดนี้จะถูกกั้นไว้ด้วย แผ่น กระดาษหรือเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของคนเราเท่านั้น
การสลายตัวให้รังสีแอลฟา
90Th 232----->88Ra 228 + 2a 4
รังสีบีตา
รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคอิเลคตรอน หรือ โพสิตรอน รังสีนี้มีคุณสมบัติทะลุทะลวงตัวกลางได้ดีกว่ารังสี แอลฟา สามารถ ทะลุผ่านน้ำที่ลึกประมาณ 1 นิ้วหรือประมาณความหนาของผิวเนื้อที่ฝ่ามือได้ รังสีเบต้าจะถูกกั้นได้โดยใช้แผ่นอะลูมิเนียม ชนิดบาง
การสลายตัวให้รังสีบีตา
79Au 198----->80Hg 198 + -1b 0
7N 13----->6C 13 + +1b 0
รังสีแกมมา
รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ที่สามารถทะลุผ่านร่างกายได้ การกำบังรังสี แกมมาต้อง ใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือ ยูเรเนียม เป็นต้น
การสลายตัวให้รังสีแกมมา
27Co 60----->-1b 0 + 28Ni 60----->28Ni60 + g
การใช้ประโยชน์จากรังสี
ปัจจุบัน ได้มีการนำรังสี และ สารกัมมันตรังสี มาใช้งานต่างๆ กัน เช่น ในทางการแพทย์ มีการใช้ ในการตรวจวินิจฉัย และ บำบัด อาการโรคของผู้เจ็บป่วยจากโรคร้ายต่างๆ เช่น การฉายรังสีเอกซ์ การตรวจสมอง การตรวจกระดูก และ การบำ บัดโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการใช้งานทางรังสี ในกิจการอุตสาหกรรม การเกษตร และ การศึกษาวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การใช้รังสีตรวจสอบรอยเชื่อม รอยร้าว ในชิ้นส่วน โลหะต่างๆ การใช้ป้ายเรืองแสงในที่มืด การตรวจ อายุวัตถุโบราณ การถนอมอาหารด้วยรังสี และการฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือแพทย์
อันตรายจากรังสี
แม้รังสีจะมีอยู่ล้อมรอบตัวเรา และมนุษย์ทุกคนก็สามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้ แต่รังสีก็นับได้ว่ามีความเป็นพิษภัย ในตัวเองเช่นกัน รังสีมีความสามารถก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์สิ่งมีชีวิต และถ้าได้รับรังสีสูงมากอาจทำให้มีอาการ ป่วยทางรังสีได้ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันตัวเองและสาธารณชน ไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสีเลย
รังสีนิวเคลียร์ทั่วไป
รังสีแอลฟา (a) แอลฟาเป็นอนุภาคที่มีคุณสมบัติเหมือนนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม (2He4 ) ในแต่ละอนุภาคแอลฟาจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกสอง หน่วย (ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และ นิวตรอน 2 อนุภาค)
Friday, June 4, 2010
เอกซเรย์คืออะไร
เอ็กซเรย์ คือ รังสี หรือ แสงชนิดหนึ่งที่เราไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า เช่น เดียวกับแสงสว่างธรรมดา เอ็กซ์เรย์นี้มีลักษณะเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค ของเแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีช่วงคลื่นสั้นมาก ความยาวช่วงคลื่นตั้งแต่ 0.04-1000 อังสตรอม (Angstrom) (อังสตรอม คือ หน่วยวัดความยาวช่องคลื่น 1 อังสตรอม (A) เท่ากับ 10-7 เซนติเมตร) หรือ อยู่ระหว่างรังสีแกมม่า กับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต คุณสมบัติของเอ็กซเรย์ คล้ายคลึงกับแสงสว่างธรรมดา เป็นส่วนใหญ่ แต่คุณสมบัติพิเศษ ของมัน คือ มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้มากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับ ความแน่นทึบ และน้ำหนักอะตอมของ วัตถุที่มันผ่าน นอกจากนั้น ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางเคมีชีวะและอื่น ๆ อีกด้วย
PET-CT
ในปัจจุบันได้มีการรวมเครื่อง PET และ CT ไว้ในเครื่องเดียวกัน โดย PET จะให้ภาพที่แสดงถึงขบวนการทางชีววิทยาและเมตาบอลิสมที่เกิดขึ้น ในขณะที่ CT จะให้ข้อมูลทางกายวิภาคทำให้บอกได้ว่าพยาธิสภาพนั้นมีขนาด รูปร่าง และตำแหน่งอยู่ในร่างกายส่วนใด การรวมข้อมูลของภาพถ่ายทางกายวิภาคและเมตาบอลิสมเข้าด้วยกัน (co-registration) ทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งของพยาธิสภาพได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งแยกได้ว่าตำแหน่งที่มีการจับสารเภสัชรังสีนั้นอยู่ในอวัยวะปกติ (physiologic uptake) หรือเป็นตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพ (pathological uptake) ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยระยะของโรคมะเร็งทั้ง staging และ restaging บอกถึงการพยากรณ์โรค และประเมินประสิทธิภาพของการรักษา วินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง รวมทั้งประเมินการตอบสนองของโรคต่อการรักษา นอกจากนี้แพทย์ทางรังสีรักษาสามารถนำภาพจาก PET/CT มาใช้ในการวางแผนการรักษาด้วยการฉายรังสี (radiation therapy treatment planning) ทำให้กำหนดตำแหน่งการฉายรังสี (contour maps) ให้ครอบคลุมรอยโรคได้อย่างถูกต้อง
PET(Positron Emission Tomography)
PET เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อใช้ตรวจการทำงานของอวัยวะในร่างกายในระดับชั้นเซลล์ โดยการถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีที่สลายตัวให้โพสิตรอน (positron) ภาพจากการตรวจสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและเมตาบอลิสมของอวัยวะในร่างกาย ทำให้เป็นประโยชน์ในการตรวจโรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
การตรวจ PET มากกว่าร้อยละ 90 จะเป็นการตรวจในโรคมะเร็ง โดย PET สามารถวินิจฉัยแยกมะเร็งจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เมื่อเทียบกับการถ่ายภาพด้วยเครื่องมือที่แสดงลักษณะทางกายวิภาค [เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography: CT) เครื่องกำทอนแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) และเครื่องอุลตราซาวน์ (ultrasonography: US)] PET สามารถแสดงความผิดปกติของเซลล์และอวัยวะก่อนตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค รวมทั้งแสดงความแตกต่างระหว่างตำแหน่งที่ผิดปกติกับบริเวณที่ปกติได้ชัดเจนกว่า
การตรวจ PET มากกว่าร้อยละ 90 จะเป็นการตรวจในโรคมะเร็ง โดย PET สามารถวินิจฉัยแยกมะเร็งจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เมื่อเทียบกับการถ่ายภาพด้วยเครื่องมือที่แสดงลักษณะทางกายวิภาค [เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography: CT) เครื่องกำทอนแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) และเครื่องอุลตราซาวน์ (ultrasonography: US)] PET สามารถแสดงความผิดปกติของเซลล์และอวัยวะก่อนตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค รวมทั้งแสดงความแตกต่างระหว่างตำแหน่งที่ผิดปกติกับบริเวณที่ปกติได้ชัดเจนกว่า
Subscribe to:
Posts (Atom)