Pages

Saturday, June 5, 2010

สารเภสัชรังสี(Radiophamaceutical)

สารเภสัชรังสี มาจากสารเภสัช + สารกัมมันตรังสี หมายถึงสารประกอบกัมมันตรังสีซึ่งนำมาใช้ในการวินิจฉัยหรือรักษาโรคโดยที่ไม่มีผลทางสรีระที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


สารกัมมันตรังสีต่างจากสารเภสัชรังสีที่สารเภสัชรังสีมีโครงสร้างทางเคมี เช่น 131I เป็นสารกัมมันตรังสีและไม่ทราบโครงสร้างทางเคมีแต่ 123I NaI เป็นสารเภสัชรังสีที่ทราบการกระจายทางชีวภาพและการถูกขจัดออกจากร่างกาย



สารเภสัชรังสีในอุดมคติที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. ให้รังสีแกมมาเพียงอย่างเดียว ซึ่งสลายตัวด้วยขบวนการ electron capture หรือ isomeric transition สำหรับรังสีอัลฟาและเบตา ไม่นิยมใช้เนื่องจาก

1.1. มี linear energy transfer (LET) สูง หมายถึง พลังงานดูดกลืนในเนื้อเยื่อที่รังสีผ่านไปสูง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูง

1.2. เนื่องจากรังสีอัลฟาและเบตามีอำนาจทะลุทะลวงต่ำทำให้ไม่สามารถทะลุผ่านผู้ป่วยไปถึงหัววัดรังสีที่จะถ่ายภาพได้ จึงไม่สามารถถ่ายภาพได้

2. พลังงานของรังสีที่เหมาะสมที่สุดคืออยู่ระหว่าง 100 keV และ 250 keV (สำหรับเครื่องแกมมา คาเมราและ SPECT)

3. Effective half-life .ในทางทฤษฎี Effective half-life ควรมีค่าประมาณ 1.5 เท่าของเวลาที่ใช้ในการตรวจ เนื่องจากเป็นเวลาที่จะให้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีและผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีน้อย

4. ปริมาณสารเภสัชรังสีที่อวัยวะเป้าหมายสูงกว่าบริเวณอื่น เช่นในการถ่ายภาพต่อมไทรอยด์ สารเภสัชรังสีที่ต่อมไทรอยด์มีมากกว่าบริเวณอื่นๆแถวคอ ถ้าสารเภสัชรังสีไปที่อวัยวะเป้าหมายน้อยทำให้บริเวณอื่นได้รับปริมาณรังสีโดยไม่จำเป็น อีกทั้งทำให้คุณภาพของภาพถ่ายลดลงอาจเป็นเหตุให้ต้องทำการตรวจซ้ำ

5. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับต้องน้อยที่สุดโดยที่คุณภาพของภาพดีที่สุด

6. ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ซึ่งสำคัญมากที่สารเภสัชรังสีต้องไม่เป็นพิษต่อผู้ป่วย และไม่มีผลข้างเคียง

7. มีคุณสมบัติที่สามารถผสมกับสารประกอบอื่นๆได้

8. ราคาถูกและหาได้ง่าย



สารเภสัชรังสีในอุดมคติที่ใช้ในการรักษาโรค

1. ให้รังสีเบตา

2. เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการใช้สารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเซลล์ ดังนั้นจึงนิยมใช้รังสีเบต้าพลังงานสูงโดยมี พลังงานสูงสุดมากกว่า 1 MeV

3. Effective half-life จะต้องไม่นานเกินไป

4. ปริมาณสารเภสัชรังสีที่อวัยวะเป้าหมายสูงกว่าบริเวณอื่น

5. ราคาถูกและหาได้ง่าย

No comments:

Post a Comment