ประวัติ: Dr Godfrey Hounsfeile แห่งหน่วยวิจัยบริษัท B.M.I. ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มต้นประดิษฐ์ Computerized Tomography ในปี 1967 ประสบความสำเร็จในปี 1972 CT เครื่องแรกได้นำมาใช้กับ โรงพยาบาล Athinson Morley 's ณ กรุงลอนดอน C.T. เครื่องแรกนี้ ใช้ได้เฉพาะตรวจสมองในงาน Neuroradiology เท่านั้น และได้เรียกตามชื่อผู้ผลิตว่า E.M.I. scanner ต่อมา Dr.Robert s Ledley ได้เป็นคนแรกที่ทำ Whole body CT ได้ สำเร็จเป็นเครื่องแรก และได้นำไปติดตั้งที่ Georye Town University Medical Center U.S.A. ในเดือน กุมภาพันธ์ 1974
การถ่ายภาพแบบโทโมกราฟฟี (ถาพตัดขวาง) เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งเป็นความพยายาม ที่ต้องการ เห็นภาพอวัยวะ ภายในร่างกาย ของผู้ป่วยเพียง ระนาบในระนาบหนึ่ง เท่านั้น เทคนิคของ โทโมกราฟฟีแบบหนึ่ง คือ การที่หลอดรังสี เอ็กซ และฟิล์มเคลื่อนที่ สัมพันธ์กันในขณะถ่ายภาพ การทำแบบนี้แม้ จะเห็นภาพของผู้ป่วย เพียงแค่ระนาพเดียว ที่ผ่านจุดหมุน ของการเคลื่อนที่ ของหลอดรังสี กับฟิล์มก็ตาม แต่ ก็มีภาพ ของแนวอื่นๆ ออกมาด้วยในลักษณะ ไม่คมชัด
โทโมกราฟฟีนี้ บางทีเรียกว่า โทโมกราฟฟีตามแกน (axial tomography) เนื่องจาก ภาพของอวัยวะภายในผู้ป่วย ที่ปรากฎเป็นภาพ ที่ขนานกับแกน ตามยาวของร่างกายผู้ป่วย สำหรับ CT จะได้ภาพที่อยู่ใน แนวตัดขวาง กับแกน ตามยาวของร่างกายผู้ป่วย หรือ ได้โทโมแกรมตามขวาง (trasaxial tomogram)
เมื่อพิจารณาถึงวิธีการทำงานของ CT เพื่อให้ได้ภาพ ภาคตัดขวาง ที่เหมือนตัดร่างกายออกมา เป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนั้นพบว่า มีความสลับซับซ้อนอยู่มาก พอสมควร เพราะเป็นวิธีการ ที่ต้องอาศัยความรู้ ทางฟิสิกส์วิศวกรรม และคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ตามทฤษฎี การสร้างภาพของ CT ทำให้ทราบว่าข้อมูล ที่ใช้ในการคำนวณสร้างภาพ คือค่าความเข้มของรังสีเอ็กซ์ ที่ทะลุผ่านร่างกาย ผู้ป่วยชิ้นบางๆ ดังกล่าว ออกมาในทิศทาง ต่างๆ จำนวนมาก การทำความเข้าใจในวิธีการทำงานของ CT ง่ายที่สุดขณะนี้ คือ ยิงรังสีเอกซ์ลำแคบ ออกไปจาก หลอดรังสีเอกซ์ แล้วใช้หัววัดรังสีเอกซ์ (detector) ไปตั้งไว้ที่ฝั่งตรงข้าม แล้วเคลื่อนหลอดรังสีเอกซ์ และ ใช้หัววัดรังสีเอกซ์ ให้รังสีเอกซ์ ลำแคบตัดผ่านไป ในระนาบของผู้ป่วยที่ต้องการ การเคลื่อนที่ตัด ในแนวเส้นตรงแบบนี้ 1 ครั้งจะได้ข้อมูลความเข้ม ของรังสีเอกซ์ 1 โพรไฟล์ สำหรับ CT ที่เฮานสฟิลด์สร้างขึ้นครั้งแรก 1 โพรไฟล์ จะประกอบด้วย 160 เรย์ซัม เมื่อการเคลื่อนที่ตัด ในแนวเส้นตรง ครั้งแรกจบลง การเคลื่อนที่ตัดจะเริ่มขึ้นอีกแต่ คราวนี้ รังสีเอ็กซ์ลำแคบจะบิดไปจากแนวเดิม 1 องศา แล้วเคลื่อนที่ตัดแบบเดิมในระนาบเดิม การเคลื่อนที่ ตัดจะต้อง กระทำ จนกระทั้งครบ 180 องศา ข้อมูลความเข็มของรังสีทั้งหมด 180 โพรไฟล์ หรือ 180x160 เรย์ซัม จะถูกนำไปใช้ ในการคำนวนสร้างภาพ
ส่วนประกอบของเครื่อง CT
1.หน่วย scanner : ประกอบด้วย
หลอดรังสีเอ็กซ์
ตัวบังคับรังสีเอ็กซ์
หัววัดรังสีเอ็กซ์
2.หน่วยคอมพิวเตอร์
3.หน่วยแสดงภาพ
ข้อดีของการตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
1. ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจน แยกความทึบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายได้ละเอียดมาก เช่น แยกเนื้อเยื่อสมองออกเป็นส่วน แยก ความทึบของก้อนต่าง ๆ ว่าเป็นก้อน(solid) ถุงน้ำ หรือมีหินปูนอยู่หรือไม่ ซึ่งเครื่องเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ยังสามารถบอกขนาด ตำแหน่งของส่วนที่ผิดปกติ ตลอดจนการกระจายของโรคได้
2. สามารถแยกอวัยวะต่าง ๆแต่ละส่วนไม่ให้มีการซ้อนกัน เช่น สามารถเห็นเนื้อสมอง และโพรงสมองแยกจากกัน
3. นอกจากใช้ในด้านการวินิจฉัยโรคแล้วยังช่วยในด้านการรักษาผู้ป่วยด้วย เช่น ช่วยในการเจาะถุงน้ำ หนอง ฝี หรือผ่าตัดสมอง บางส่วน
4. ช่วยคำนวณวางแผนการรักษาโดยรังสีรักษาในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอก โดยสามารถคำนวณภาพของก้อนเนื้องอกจริง ๆ
5. ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ สามารถศึกษาการไหลเวียนของกระแสเลือด และการไหลเวียนของน้ำสมอง ไขสันหลังได้ โดยการฉีดสารทึบแสง(dynamic scan) ร่วมด้วย
6. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการลดความเจ็บปวดและอันตรายจากการตรวจพิเศษทางรังสีแบบอื่น ๆ เช่น การตรวจ ระบบหลอดเลือด (angiography)
7. ช่วยลดเวลาในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย และโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ยิ่งให้ประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านเทคนิคการถ่ายภาพ และการแปลผลได้สูงขึ้น
8. ทางด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะมีราคาแพงแต่เป็นที่แน่ชัดว่า การตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการช่วย ลดค่าใช้จ่ายในด้านการตรวจอื่น ๆ
ประเภทของการตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ : ที่นิยมใช้ตรวจกันในปัจจุบัน มีดังนี้
1.บริเวณส่วนที่เป็นศีรษะ และคอ เช่น
สมอง ( Brain )
คอ ( Neck )
โพรงอากาศรอบจมูก ( Paranasal sinus )
กระบอกตา ( Orbit )
โพรงอากาศช่องจมูก ( Nasopharynx )
ช่อง ( Larynx ) เป็นต้น
2.บริเวณช่องท้อง เช่น
ช่องท้องส่วนบน ( Upper Abdomen )
ช่องท้องส่วนล่าง ( Lower Abdomen )
บริเวณช่องท้องทั้งหมด ( Whole Abdomen ) เป็นต้น
3.บริเวณช่องอก เช่น
ปอด ( Chest ) เป็นต้น
4.ส่วนที่เป็นกระดูกสันหลัง เช่น
กระดูกคอ ( C-Spine )
กระดูกสันหลังช่วงอก ( T-Spine )
กระดูกสันหลังช่วงเอว ( L-Spine ) เป็นต้น
5.กล้ามเนื้อ และกระดูก ส่วนอื่น ๆ ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ตรวจโดยวิธีการนี้
การเตรียมตรวจสำหรับผู้ป่วย
1.งดน้ำ และอาหารทางปาก อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อลดข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบแสงซึ่งอาจทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยบางราย
2.สอบถามประวัติการแพ้อาหารทะเล,การแพ้สารอื่น ๆ ,โรคภูมิแพ้ ตลอดจนโรคระบบทางเดินหายใจ,โรคไต,โรคเบาหวาน เพื่อป้องกัน ข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบแสงเข้าสู่เส้นเลือดดำ เพราะการตรวจทุกประเภทจะแบ่งเป็นการตรวจก่อน และหลังการ ฉีดสารทึบแสง เพื่อแสดงความผิดปกติของหลอดเลือดและเนื้อเยื่อที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก หรือความผิดปกติของสมองที่ทำให้สารใน หลอดเลือดซึมผ่านเข้าสู่เนื้อสมอง
3.ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ เช่น ผู้ป่วยเด็ก,ผู้ป่วยที่มีอาการสับสนไม่รู้สึกตัว อาจต้องพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เคลื่อนไหว
4.ซักถามการตรวจโดยการรับประทาน หรือสวนแป้งแบเลี่ยม Barium Sulphate เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร(GI study) , การตรวจ ลำไส้ใหญ่(Barium Enema) ซึ่งจะทำให้เกิดรอยที่ไม่พึงประสงค์(artifact) ต่อภาพได้ ควรทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อน หรือหลังการ ตรวจดังกล่าว 1 อาทิตย์จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มี แป้งแบเลี่ยมตกค้างอยู่ในร่างกาย
No comments:
Post a Comment