Pages

Saturday, June 5, 2010

กัมมันตภาพรังสี...คืออะไร?

กัมมันตภาพรังสี(Radioactivity)เป็นคุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุ หรือ ไอโซโทปอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการปลดปล่อย หรือ ส่งรังสีออกมาด้วย ปรากฏการณ์นี้ได้พบครั้งแรกโดย เมื่อปี พ.ศ. 2439 ต่อมาได้มีการพิสูจน์ทราบว่า รังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลายตัวของธาตุ หรือไอโซโทป รังสีนั้น ประกอบด้วย




รังสีแอลฟา

รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีมวล 4 amu มีประจุ +2 อนุภาค ชนิดนี้จะถูกกั้นไว้ด้วย แผ่น กระดาษหรือเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของคนเราเท่านั้น



การสลายตัวให้รังสีแอลฟา

90Th 232----->88Ra 228 + 2a 4



รังสีบีตา

รังสีที่ประกอบด้วยอนุภาคอิเลคตรอน หรือ โพสิตรอน รังสีนี้มีคุณสมบัติทะลุทะลวงตัวกลางได้ดีกว่ารังสี แอลฟา สามารถ ทะลุผ่านน้ำที่ลึกประมาณ 1 นิ้วหรือประมาณความหนาของผิวเนื้อที่ฝ่ามือได้ รังสีเบต้าจะถูกกั้นได้โดยใช้แผ่นอะลูมิเนียม ชนิดบาง



การสลายตัวให้รังสีบีตา

79Au 198----->80Hg 198 + -1b 0

7N 13----->6C 13 + +1b 0



รังสีแกมมา

รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ที่สามารถทะลุผ่านร่างกายได้ การกำบังรังสี แกมมาต้อง ใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูง เช่น ตะกั่ว หรือ ยูเรเนียม เป็นต้น



การสลายตัวให้รังสีแกมมา

27Co 60----->-1b 0 + 28Ni 60----->28Ni60 + g



การใช้ประโยชน์จากรังสี

ปัจจุบัน ได้มีการนำรังสี และ สารกัมมันตรังสี มาใช้งานต่างๆ กัน เช่น ในทางการแพทย์ มีการใช้ ในการตรวจวินิจฉัย และ บำบัด อาการโรคของผู้เจ็บป่วยจากโรคร้ายต่างๆ เช่น การฉายรังสีเอกซ์ การตรวจสมอง การตรวจกระดูก และ การบำ บัดโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการใช้งานทางรังสี ในกิจการอุตสาหกรรม การเกษตร และ การศึกษาวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การใช้รังสีตรวจสอบรอยเชื่อม รอยร้าว ในชิ้นส่วน โลหะต่างๆ การใช้ป้ายเรืองแสงในที่มืด การตรวจ อายุวัตถุโบราณ การถนอมอาหารด้วยรังสี และการฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือแพทย์



อันตรายจากรังสี

แม้รังสีจะมีอยู่ล้อมรอบตัวเรา และมนุษย์ทุกคนก็สามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้ แต่รังสีก็นับได้ว่ามีความเป็นพิษภัย ในตัวเองเช่นกัน รังสีมีความสามารถก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์สิ่งมีชีวิต และถ้าได้รับรังสีสูงมากอาจทำให้มีอาการ ป่วยทางรังสีได้ ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันตัวเองและสาธารณชน ไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสีเลย

No comments:

Post a Comment