Pages

Saturday, June 5, 2010

การตรวจพิเศษทางรังสี

1. การตรวจหลอดอาหาร (Ba Swallow/ Esophagogram) เป็นการตรวจทางรังสีของหลอดอาหาร โดยการดื่มสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหาร จะทำการเอกซเรย์ตั้งแต่ช่วงคอจนถึงช่วงท้องส่วนบน การเตรียมตัวก่อนการตรวจหลอดอาหาร (Ba Swallow) ให้งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ)

2. การตรวจกระเพาะอาหาร (Upper G.I.: UGI) เป็นการตรวจทางรังสีของกระเพาะอาหาร เพื่อดูความผิดปกติ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น โดยให้ดื่มสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ จะทำการเอกซเรย์ตั้งแต่กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนบน การเตรียมตัวก่อนการตรวจกระเพาะอาหาร (Upper G.I.: UGI) ให้งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ)

3. การตรวจกระเพาะอาหาร และลำไล้เล็กทั้งหมด (Long GI / GI Follow Through) เป็นการตรวจทางรังสีของลำไส้เล็กทั้งหมด เพื่อดูความผิดปกติ และพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น โดยให้ดื่มสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ จะทำการเอกซเรย์ส่วนต่าง ๆ ของลำไส้เล็ก และจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อแป้งแบเรี่ยมได้ไหลเข้าสู่ Caecum ของลำไส้ใหญ่ การเตรียมตัวก่อนการตรวจกระเพาะอาหาร และลำไล้เล็กทั้งหมด (Long GI / GI Follow Through) ให้งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ) มื้อเย็นของวันก่อนทำการตรวจ ควรงดอาหารที่มีกาก เช่น ผักและผลไม้ รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานยาระบาย 1 วันก่อนการตรวจ

4. การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema: BE) เป็นการตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น อาจเป็นแผล (Ulcer) เนื้องอก (Tumor) หรือเกิดการอุดตันของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulphate) และลมเข้าไปในลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก พร้อมกับถ่ายภาพเอกซเรย์ ซึ่งการตรวจนี้ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดอุจจาระ ผู้ป่วยจึงต้องให้ความร่วมมือในการกลั้นอุจจาระ การเตรียมตัวก่อนการตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema: BE) 1.ก่อนการตรวจ 2-3 วัน งดอาหารที่มีกาก เช่น ผักและผลไม้ รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำมากๆ 2.รับประทานยาระบาย 2-3 วัน ก่อนการตรวจ 3.งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ)

5. การตรวจระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Intravenous Pyelography: IVP) เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติ และการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะ (ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ) โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าเส้นเลือดดำ ประกอบการถ่ายภาพทางรังสีเป็นระยะ ๆ จนเสร็จสิ้นการตรวจ ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการเจาะเลือด (ตรวจ BUN, Cr) เพื่อดูการทำงานของไตก่อนการตรวจ การเตรียมตัวก่อนการตรวจระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Intravenous Pyelography: IVP)

   5.1.ก่อนการตรวจ 1-2 วัน งดอาหารที่มีกาก เช่น ผักและผลไม้ รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำมากๆ

   5.2.รับประทานยาระบาย 1 วัน ก่อนการตรวจ

   5.3.งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันตรวจ (ถ้ากรณีที่มียาที่จำเป็นต้องรับประทาน เช่น ยาโรคหัวใจ ยาความดันโลหิต หรือยาเบาหวาน สามารถรับประทานได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ)

6. การตรวจระบบประสาทไขสันหลัง (Myelography) เป็นการตรวจทางรังสีวินิจฉัยของระบบประสาท ภายในช่องสันหลัง (Spinal canal) โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในช่อง subarachnoid space ระหว่างรังสีแพทย์ทำการตรวจ ผู้รับบริการต้องนอนนิ่ง ๆ จนกว่ารังสีแพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในช่องน้ำไขสันหลังเสร็จ หลังจากนั้นรังสีแพทย์ / นักรังสีการแพทย์ จะถ่ายภาพเอกซเรย์ ซึ่งการตรวจ Myelography จะเรียกแตกต่างกัน ตามส่วนที่ทำ เช่น บริเวณคอ เรียกว่า Cervical Myelography, บริเวณหลัง เรียกว่า Thoracic Myelography และบริเวณเอว เรียกว่า Lumbar Myelography การเตรียมตัวก่อนการตรวจระบบประสาทไขสันหลัง (Myelography) ให้งดน้ำ, อาหาร

และยาทุกชนิด4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

7. การตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystography) เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีของกระเพาะปัสสาวะ โดยการฉีดสารทึบรังสี (Negative or positive contrast media) เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder) โดยผ่านทางสายสวนปัสสาวะ และประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะปัสสาวะที่มีสารทึบรังสีบรรจุอยู่เต็ม เพื่อดูความผิด ปกติของกระเพาะปัสสาวะ (bladder) การเตรียมตัวก่อนการตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystography) ให้งดน้ำ, อาหาร และยาทุกชนิด4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

No comments:

Post a Comment