วิลเฮล์ม เรินต์เกน ได้ประดิษฐ์หลอดเอกซเรย์และมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นครั้งแรก ทั้งที่ก่อนหน้า
นี้มีเพียงรังสีจากธรรมชาติเท่านั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 มีการค้นพบธาตุกัมมันตรังสี
ยูเรเนียมในธรรมชาติโดย เฮนรี เบคเคอเรล หลังจากนั้นได้เริ่มมีการนำรังสีมาใช้ประโยชน์ทางด้าน
การแพทย์และการวิจัย ในปี พ.ศ. 2473 อี. โอ. ลอเรนซ์ และ เอ็ม. โอ. ลิฟวิงสโตน ได้ประดิษฐ์
เครื่องไซโคลตรอนเครื่องแรกที่สามารถผลิตลำรังสีโปรตรอน และปี พ.ศ. 2477 ได้มีการผลิตสาร
กัมมันตรังสีเป็นครั้งแรกโดย เอนริโก เฟอมิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีการนำรังสีมาใช้ประโยชน์
ในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางด้านการวิจัย งานทางด้านอุตสาหกรรม การดูแลป้องกัน
สิ่งแวดล้อม ทางด้านการแพทย์ และทางด้านการค้า
รังสีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรืออาจกล่าวได้ว่าเราอาศัยอยู่ในโลกของสาร
กัมมันตรังสี แม้ในร่างกายของเราก็มีสารกัมมันตรังสี เช่น สารกัมมันตรังสีโปโลเนียม และเรเดียม
ในกระดูก สารกัมมันตรังสีคาร์บอนและโปแตสเซียมในกล้ามเนื้อ แม้ในปอดก็มีกาซเฉื่อย
กัมมันตรังสีและทริเทียม ร่างกายของเราได้รับรังสีคอสมิกจากอวกาศและจากสารกัมมันตรังสีต่างๆ
จากรอบตัวเรา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเราได้รับรังสีจากแหล่งใหญ่ 2 แหล่งคือ
1. รังสีจากธรรมชาติ เช่นรังสีคอสมิกจากอวกาศ กาซเรดอนที่เกิดจากการสลายตัวของ
เรเดียม เป็นต้น
2. รังสีที่มนุษย์ผลิต เช่นรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ สารกัมมันตรังสีที่เตรียมจากเตา
ปฏิกรณ์ปรมาณู เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากรังสีในทางการแพทย์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัย
และรักษาโรค ตัวอย่างการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวินิจฉัย (diagnostic radiology) เช่น การถ่ายภาพ
รังสีเต้านมเพื่อตรวจเนื้องอก การถ่ายภาพรังสีกระดูกขากรรไกรเพื่อตรวจความผิดปกติของฟัน การ
ถ่ายภาพรังสีกระดูกเพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนหรือการหักของกระดูก เป็นต้น ส่วนการตรวจและ
รักษาทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (nuclear medicine) ต้องอาศัยการบริหารสารเภสัชรังสีเข้าสู่
ร่างกายผู้ป่วย นอกจากนั้นยังมีการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อการรักษาโรค (radiation therapy) โดย
แพทย์ทางรังสีรักษา เช่น รังสีจากเครื่องโคบอลต์-60 หรือ เครื่องลิเนียร์ แอคซิลิเลเตอร์ (linear
accelerator)
นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้รังสีทางการแพทย์ด้านอื่นๆ เช่น การใช้รังสีเพื่อทำให้เกิด
การปลอดเชื้อแทนการใช้ความร้อนอุณหภูมิสูง ซึ่งจะมีประโยชน์ในหลายกรณีเช่น การทำให้ปลอด
เชื้อของเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆของร่างกายที่แพทย์จะนำมาใช้ในการรักษา เครื่องมือทางการแพทย์
(เครื่องมือผ่าตัด ถุงมือยาง) หรือแม้แต่ยาบางชนิด เป็นต้น
โดย...รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ภาวนา ภูสุวรรณ
No comments:
Post a Comment